โรคเบาหวานประเภท 2 Type 2 diabetes : อาการ สาเหตุ การรักษา
โรคเบาหวานประเภท 2 (Type 2 diabetes) คือ โรคเรื้อรังที่ส่งผลต่อการเผาผลาญน้ำตาล (กลูโคส) ซึ่งเป็นแหล่งเชื้อเพลิงสำคัญสำหรับร่างกายของคุณ
ร่างกายของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ต่อต้านผลของอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการเคลื่อนย้ายน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ หรือร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ ในการรักษาระดับกลูโคสให้เป็นปกติ
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เรารู้จักกันในชื่อโรคเบาหวานในผู้ใหญ่ แต่ปัจจุบันมีเด็กจำนวนมากขึ้นได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ อาจเนื่องมาจากโรคอ้วนในวัยเด็กเพิ่มขึ้น โรคเบาหวานประเภท 2 ยังไม่มีวิธีการรักษา แต่การลดน้ำหนัก การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ และการออกกำลังกายจะช่วยผู้ป่วยได้ หากการรับประทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ และออกกำลังกายไม่เพียงพอที่จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ จะต้องใช้ยารักษาโรคเบาหวานหรืออินซูลินบำบัด
อาการเบาหวานประเภท 2
อาการของเบาหวานประเภท 2 นั้นพัฒนาอย่างช้าๆ อาจใช้เวลาเป็นปี โดยมีอาการทั่วไปดังนี้
- กระหายน้ำมาก
- ปัสสาวะบ่อย
- อยากอาหารเพิ่มขึ้น
- น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ
- เหนื่อยล้า
- มองเห็นภาพเบลอ
- แผลหายช้า
- การติดเชื้อได้ง่าย
- รักแร้และลำคอเป็นรอยคล้ำ
สาเหตุเบาหวานประเภท 2
โรคเบาหวานประเภท 2 คือการที่ร่างกายดื้อต่ออินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ แต่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงว่ามาจากพันธุกรรม และปัจจัยแวดล้อม เช่น ภาวะน้ำหนักเกิน เป็นต้น
อินซูลินทำอย่างไร ?
อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่มาจากตับอ่อน
- ตับอ่อนจะหลั่งอินซูลินเข้าสู่กระแสเลือด
- อินซูลินจะไหลเวียนนำน้ำตาลไปยังเซลล์
- อินซูลินทำหน้าที่ลดปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือด
- เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลง การหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนก็ลดลง
หน้าที่ของกลูโคส
กลูโคส — เป็นน้ำตาล — เป็นแหล่งพลังงานหลักสำหรับเซลล์กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่างๆ
- กลูโคสมาจาก 2 แหล่งหลัก คือ อาหารและตับ
- น้ำตาลจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดซึ่งจะเข้าสู่เซลล์ด้วยด้วยอินซูลิน
- ตับทำหน้าที่เก็บและสร้างกลูโคส
- เมื่อระดับกลูโคสอยู่ในระดับต่ำ เช่น เมื่อขาดอาหารสักระยะหนึ่งตับจะสลายไกลโคเจนที่เก็บไว้เป็นกลูโคส เพื่อให้ระดับกลูโคสอยู่ในช่วงปกติ
ในโรคเบาหวานประเภท 2 กระบวนการของอินซูลินไม่ดีนัก เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นเบต้าเซลล์ที่สร้างอินซูลินในตับอ่อนจะปล่อยอินซูลินออกมามากขึ้น แต่ไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ในโรคเบาหวานประเภท 1พบได้น้อยกว่า ในกรณีระบบภูมิคุ้มกันจะทำลายเซลล์เบต้าโดยผิดพลาด ทำให้ร่างกายเหลืออินซูลินเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยเลย
ปัจจัยเสี่ยงต่อเบาหวานประเภท 2
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเบาหวานประเภท 2
- น้ำหนัก ภาวะน้ำหนักเกินเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของโรคเบาหวานประเภท 2 แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินไม่ได้หมายความว่าเป็นโรคเบาหวานประเภท 2
- การกระจายตัวของไขมัน การมีไขมันหน้าท้องที่มากเกินไป มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภท 2 มากกว่าการสะสมไขมันไว้ที่อื่น เช่น สะโพกและต้นขา ความเสี่ยงของโรคเบาหวานประเภท 2 จะเพิ่มขึ้น ถ้าผู้ชายที่มีรอบเอวสูงกว่า 40 นิ้ว (101.6 เซนติเมตร) หรือผู้หญิงที่มีเอวมากกว่า 35 นิ้ว (88.9 เซนติเมตร)
- ไม่ออกกำลังกาย ยิ่งคุณออกกำลังกายน้อยเท่าไร ความเสี่ยงของโรคเบาหวานประเภท 2 ก็จะยิ่งมากขึ้น การออกกำลังกายช่วยให้คุณควบคุมน้ำหนัก เผาผลาญกลูโคส และทำให้เซลล์ไวต่ออินซูลินมากขึ้น
- ประวัติครอบครัว ความเสี่ยงของโรคเบาหวานประเภท 2 จะเพิ่มขึ้นหากพ่อแม่หรือญาติของคุณเป็นโรคเบาหวานประเภท 2
- เชื้อชาติ คนผิวดำ ฮิสแปนิก อเมริกัน อินเดียน และเอเชียนอเมริกัน มีความเสี่ยงสูง
- อายุ ความเสี่ยงของโรคเบาหวานประเภท 2 จะเพิ่มขึ้นเมื่อคุณอายุมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากอายุ 45 ปีนั่นอาจเป็น เพราะการออกกำลังกายน้อยลง สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ และน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตามอายุ แต่โรคเบาหวานประเภท 2 ก็ยังเพิ่มขึ้นอย่างมากในกลุ่มเด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่อายุน้อย
- Prediabetes Prediabetes เป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณสูงกว่าปกติ แต่ไม่สูงพอที่จะจัดเป็นโรคเบาหวาน หากไม่ได้รับการรักษามักจะกลายเป็นโรคเบาหวานประเภท 2
- โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หากเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 จะเพิ่มขึ้น หากให้กำเนิดทารกที่มีน้ำหนักมากกว่า 9 ปอนด์ (4 กิโลกรัม) ก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 เช่นกัน
- โรครังไข่ polycystic สำหรับผู้หญิงที่เป็นโรครังไข่ polycystic ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยโดยมีประจำเดือนมาไม่ปกติ และโรคอ้วน มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน
- รักแร้และลำคอคล้ำ ภาวะนี้มักบ่งบอกถึงภาวะดื้ออินซูลิน
ภาวะแทรกซ้อนเบาหวานประเภท 2
โรคเบาหวานประเภท 2 ในระยะแรกจะไม่แสดงอาการใดๆ แต่โรคเบาหวานมีผลต่ออวัยวะสำคัญหลายอย่างรวมถึงหัวใจ หลอดเลือด เส้นประสาท ตา และไต การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของคุณสามารถช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้ ภาวะแทรกซ้อนจะพัฒนาอย่างช้าๆ แต่ในที่สุดก็อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ภาวะแทรกซ้อนได้แก่
- โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดตีบ
- โรคระบบประสาท น้ำตาลส่วนเกินอาจทำให้รู้สึกชา หรือปวดซึ่งมักเริ่มที่ปลายนิ้วเท้าหรือนิ้วมือ และค่อยๆ ลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ในที่สุดอาจสูญเสียความรู้สึกที่แขนและขา ทั้งยังทำให้ระบบย่อยอาหารผิดปกติ และสร้างปัญหาสมรรถภาพทางเพศสำหรับผู้ชาย
- โรคไต เบาหวานสามารถทำให้ไตล้มเหลว และโรคไตได้ สุดท้ายอาจต้องฟอกไตหรือปลูกถ่ายไต
- ทำลายตา โรคเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตาร้ายแรง เช่น ต้อกระจกและต้อหิน และสร้างความเสียหายกับหลอดเลือดบริเวณตาจนทำให้ตาบอดได้
- แผลหายช้า บาดแผลที่รักษาหายยาก ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และสูญเสียแขน ขาในที่สุด
- ปัญหาทางการได้ยิน ผู้ป่วยเบาหวานมักจะต้องพบกับปัญหาทางการได้ยิน
- สภาพผิว เบาหวานเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อที่ผิวหนังได้มากขึ้น
- หยุดหายใจขณะหลับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับพบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยภาวะน้ำหนักเกินเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว
- โรคอัลไซเมอร์ โรคเบาหวานประเภท 2 เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันที่ชัดเจน แต่ยิ่งไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้เท่าไร ความเสี่ยงก็เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
การป้องกันเบาหวานประเภท 2
การมีพฤติกรมมที่ดีต่อสุขภาพสามารถช่วยป้องกันโรคเบาหวานประเภท 2 ได้ หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมช่วยป้องกันการลุกลามของโรคเบาหวาน และภาวะแทรกซ้อนได้
พฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพได้แก่
- รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เลือกอาหารที่มีไขมันและแคลอรี่ต่ำ มีไฟเบอร์สูง เน้นผักผลไม้ และธัญพืช
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 – 60 นาที หรือออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างหนัก 15 – 30 นาที ประจำทุกวัน
- การลดน้ำหนัก หากควบคุมไม่ให้อยู่ในสภาวะน้ำหนักเกิน ก็สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานได้ เพื่อให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ ควรมุ่งเน้นการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ และการออกกำลังกาย เพราะยังช่วยเสริมเรื่องสุขภาพอื่นๆ อีกด้วย
- หลีกเลี่ยงการอยู่นิ่งกับที่เป็นเวลานาน การนั่งนิ่ง ๆ เป็นเวลานาน เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภท 2 ทุกๆ 30 นาที ควรลุกขึ้น และขยับร่างกาย 2-3 นาที
ยานั้นเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานประเภท 2 ได้แก่ Metformin (Glucophage, Glumetza, อื่น ๆ ) แม้ว่าจะรับประทานยานี้แล้วก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมด้วยเช่นกัน